วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการตกปลา 2 หน้า อิอิ


(บอกก่อนนะ อันนี้ไม่ได้เขียนเองแต่เอาของน้าท่านอื่นมาลงต่อเพื่อจะมีประโยชน์ต่อใครหลายๆๆคน ^0^ )


เทคนิคการตกปลา…ทูน่า

ข้าพเจ้าขออาสาพานักตกปลาไปพบกับปลาเกมอีกชนิดหนึ่ง ที่มีพลังในการต่อสู้กับนักตกปลาได้อย่างเร้าใจ อึดและหนักหน่วงซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เร้าใจรุนแรงรือโลดโผนเหทือนกับปลาในสกุล กระโทงก็ตามแต่ก็เป็นเกมที่สนุกไม่แพ้กัน ไม่อย่างนั้นนักตกปลาคงจะไม่ยอมเดินทางร่วมพันกิโลเมตรเพื่อเสาะหากันเป็น แน่ เพราะมันคือ….ปลา “ทูน่า” ปลาจอมอึดที่หมู่นักตกปลาชื่อชอบการทรอลลิ่งเคยปรบมือกันมาแล้วนั้นเองโดย เฉพาะอย่างยิ่งกับปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin Tuna) และปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (Bluefin Tuna)

ปลาทูน่าเป็นปลาเกมชนิดหนึ่งที่อิ๊กฟ่า (IGFA; International Gamefish Association) กำหนดให้เป็นปลาเกมเพื่อการบันทึกสถิติมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 111 ชนิดโดยไม่นับรวมกับด๊อกทูธทูน่า (Dogtooth Tuna) หรือเรียกกันว่าปลา “ทูน่าน้ำตื้น” เพราะเมื่อพิจารณาทางหลักการทางชีววิทยาแล้ว ด๊อกทูธน่าจัดอยู่ในปลาจำพวกซาร์ดีนี่ (Sardini) แต่สำหรับนักตกปลาในบ้านเราต่างก็จัดให้ ด๊อกทูธน่ารวมอยู่ใกลุ่มเดียวกัน เพราะมีชื่อลงท้ายด้วยทูน่าเหมือนกัน และต่อจากนี้ข้าพเจ้าจะบอกถึงหน้าตาของทูน่าทั้ง 12 ชนิดให้รู้จักกันก่อน

โอแถบ (Oceanic Boniito, Skipjack Tuna, Striped Tuna)

เป็นปลาฝูงงขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามทะเลลึก ที่มีกระแสน้ำไหลแรงและเป็นเขตร้อน เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลอันดามัน มีความยาวสูงสุดประมาณ 90 ซม. นน้ำหนักประมาณ 20 กก.

โอแกนเป็นปลาที่กินเหยื่แทบทุกประเภทที่ใช้ตกทูน่า โดยเฉพาะเหยื่อปลอมที่ปล่อยลากไว้ใกล้ๆ กับท้ายเรือเหรือใบจักรเรือเช่น เหยื่อบลูเรคเฮดและนักเกิลเฮดที่มีสีชมพูเป็นหลัก ส่วนเหยื่อเป็นก็จะเป็นปลาฝูงขนาดเล็กว่าเช่น ปลาสีกุน ปลาทูลัง ปลาทูโม่ง และปลาหมึก เป็นต้น

โอแถบดำ (Black Skipjack Tuna)

เป็นปลาฝูงขนาดใหญ่เช้นเดียวกันกับปลาโอแถบ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล ที่เป็นเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน ที่มักจะย้ายฝูงไปมาในทะเลเปิด มีความยาวลำตัวสูงสุดประมาณ 90-100 ซม. น้ำหนักสูงสุดประมาณ 20-25 กก.

โอแถบดำเป็นปลาที่สามารถจะตกได้ด้วยวิธีการทรอลลิ่งด้วยเหยื่อจริงที่มีขนาด เล็กๆ หรือเหยื่อปลอมจำพวก ปลาปลอม (Plug) สีเขียวท้องทอง หรือเหยื่อจิ๊กขนนก ก็สามารถที่จะใช้ตกปลาโอแถบดำได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปลาโอแถบดำในปัจจุบันนี้เป็นปลาที่หาตัวค่อนข้างยาก แล้ว

โอดำ (*Little Tuna)

เป็นปลาฝูงที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ละฝูงจะมีจำนวนหลายร้อยตัวหรือ เป็นพันๆตัวทีเดียว เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนตามทะเลเปิดโดยทั่วไป มักจะหากินบริเวณใกล้เกาหรือชายฝั่ง และมัไม่เคลื่อนย้ายฝูงไปไหนหากว่าในบริเวณนั้นยังมีอาหารให้กินอย่างเพียง พอ มีความยาวสูงสุดประมาณ 60-75 ซม. น้ำหนักสูงสุดประมาณ 15-17 กก.

ปลาโอดำเป็นปลาล่าเหยื่อที่มักจะเข้าโจมตีปลาฝูงที่มีขนาดเล็กว่าตามบริเวณผิวน้ำ โดย

การล้อมฝูงปลาเล็กไว้ตรงกลางแล้วเข้าชาร์จพร้อม ๆ กัน ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดปั่นป่วนเหมือนน้ำเดือดเป็นวงกว้าง ซึ่งนักตกปลาสามารถที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ปลาโอดำสามารถที่จะตกได้ด้วยการทรอลลิ่งด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กเช่นเดียวกับ ปลาโอแถบดำ

โอลาย (Mackerel Tuna, Wavyback Skipjack,Kawakawa)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน เป็นปลาฝูงขนาดใหญ่เช่นเดียวกับปลาโอดำ มักอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลเปิด โดยมีขนาดความยาวลำตัวตั้งแต่ 30-50 ซม. น้ำหนักสูงสุดประมาณตัวละ 2-3 กก.

โอลายเป็นปลาที่กินเหยื่อทุกชนิดที่ใช้ตกปลาทูน่า แต่ต้องมีขนาดเล็กประมาณ 1-3 นิ้ว โดยวิธีการตกแบบทรอลลิ่งเช่นเดียวกันกับปลาโอชนิดอื่น ๆ

โอหม้อ โอดำหรือทูน่าครีบดำ (Blackfinned Albacore ,Blackfin Tuna)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน พบมากในมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตก ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยหรือตามทะเลเปิดโดยทั่วไป ปลาโอหม้อเมื่อยังมีขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีระดับน้ำตื้น ๆ แต่พอโตขึ้นมักจะเคลื่อนย้ายฝูงออกไปในทะเลลึก และหากินอยู่ในระดับกลางน้ำถึงผิวน้ำ มีขนาดยาวตั้งแต่ 30-100 ซม. และมีน้ำหนักประมาณตั้งแต่ 3-45 กก.

ปลาโอหม้อเป็นปลาที่อยู่รวมฝูงและหากินอยู่ใกล้ผิวน้ำ นักตกปลาจึงสามารถตกปลาโอหม้อได้ด้วยวิธีการทรอลลิ่งด้วยเหยื่อปลอม หรือเหยื่อจริงที่มีขนาดเล็กถึงปานกลาง

ทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin Tuna , Allison Tuna)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามมหาสมุทรหรือทะเลลึกในเขตโซนร้อน หรือที่มีกระแสน้ำไหลวนกลางมหาสมุทร โดยมีอุณหภูมิของน้ำในบริเวณดังกล่าวระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส ระดับความลึกของน้ำตั้งแต่ 200 เมตรหรือมากกว่า มีขนาดความยาวที่พบมากอยู่ระหว่าง 1-2.5 เมตร น้ำหนักสูงสุดที่เคยได้ตัวประมาณ 150 กก.

ทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาฝูงเช่นเดียวกันกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ การตกส่วนใหญ่จะใช้วิธีการทรอลลิ่งด้วยเหยื่อปลอมหรือเหยี่อจริงที่มีขนาด ไม่โตมากนัก หรือจะใช้วิธีการอ่อยเหยื่อล่อ (chumming) แล้วตกด้วยเหยื่อจริงตามธรรมชาติ ทั้งชนิดที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตได้ผลเช่นกัน

ทูน่าครีบน้ำเงิน (Bluefin Tuna,Atlantic Bluefin, Tunny Fish)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ชอบย้ายถิ่นไปเรื่อย ๆ ตามแหล่งอาหารและอุณหภูมิของน้ำเป็นหลัก พบมากในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินนี้จัดได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มากโดยมีขนาดความยาว เฉลี่ยตั้งแต่ 2-2.5 เมตร น้ำหนักสูงสุดอยู่ที่ 300-350 กิโลกรัมขึ้นไป

สามารถที่จะตกได้ด้วยวิธีการทรอลลิ่งซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุด สำหรับเหยื่อก็สามารถที่จะใช้เหยื่อปลอมชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ตกปลาทูน่าเกือบทุกชนิด ส่วนเหยื่อจริงก็ใช้ได้ตั้งแต่ปลาทูลัง ปลากระบอกหรือปลาหมึก ทั้งทียังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วก็ใช้ได้ผลเช่นกัน

Southern Bluefin Tuna,Janpanese Central Pacific Bluefin Tuna

เป็นปลาทูน่าที่พบมากในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ด้านทิศตะวันออกของออสเตรเลีย มีลักษณะคล้ายกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินแต่มีข้อแตกต่างตรงแง่งที่โคนหางจะเป็น สีเหลืองสด จัดเป็นปลาทูน่าที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง คือมีความยาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-2.5 เมตร น้ำหนักสูงสุดประมาณ 300 กก.

การตกปลาเซาเธอร์นบลูฟินทูน่านี้ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเดียวกันกับการตกปลาทู น่าครีบน้ำเงิน ซึ่งวิธีที่ใช้ได้ผลดีที่สุดคือการทรอลลิ่งเช่นกัน โดยเลือกใช้เหยื่อปลอมประเภทโคน่าเฮด นักเกิลเฮด หรือเหยื่อประเภทขนนกก็สามารถที่จะใช้ได้ผลเช่นกัน

ทูน่าครีบยาว (Albacore, Longfin Tuna,Long-finned Tunny)

เป็นปลาที่อาศัยในเขตร้อนและเขตอบอุ่นในมหาสมุทรอินเดียแปซิฟิกและแอตแลนติก โดยอาศัยอยู่ตามผิวน้ำลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 200 เมตร ทูน่าครีบยาวมีขนาดและความยาวเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร น้ำหนักสูงสุดประมาณ 30 กก.

การตกปลาทูน่าครีบยาวนักตกปลามักจะเลือกใช้วิธีการเดียวกันกับการตกเซา เธอร์นบลูฟิน แต่ขนาดของเหยื่อที่เลือกใช้ต้องเล็กกว่าและลากด้วยความเร็วที่มากกว่าหรือ จะเลือกใช้เหยื่อเป็นตามธรรมดาจำพวกทูโม่ง สีกุน หรือปลาหมึกก็ได้

ทูน่าตาโต (Bigeye Tuna)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมิผิวน้ำตั้งแต่ 18 องศาเซลเซียสพบมากในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกเป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง โดยอาศัยวนเวียนหากินตั้งแต่ผิวน้ำลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 200 เมตร จัดได้ว่าเป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีความยาวลำตัวประมาณ 2 เมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยทั่ว ๆ ไปประมาณ 200 กิโลกรัมขึ้นไป

การตกปลาทูน่าตาโตนักตกปลาสามารถเลือกใช้เหยื่อได้เช่นเดียวกันกับการตกปลา ทูน่าชนิดอื่น ๆ หรือเลือกใช้เหยื่อจริง ทั้งที่มีชิวติหรือตายแล้วก็ได้ โดยใช้วิธีการทรอลลิ่งอย่างช้า ๆ จะให้ผลดีกว่าการทรอลลิ่งด้วยความเร็วสูง

ทูน่าหางยาว (Longtail Tuna,Oriental Bonito)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตโซนร้อนหรือกึ่งโซนร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนล่างไป จนถึงอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่อาศัยรวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำ มีขนาดและความยาวประมาณ 1 เมตร และน้ำหนักสูงสุดประมาณ 30 กิโลกรม

การตกปลาทูน่าหางยาวก็สามารถเลือกใช้เหยื่อได้เช่นเดียวกันกับการตกปลาทูน่ช นิดอื่น ๆ หรือเลือกใช้เหยื่อจริงตามธรรมชาติจำพวกปลาสีกุน ปลาทูและปลาหมึกโดยใช้วิธีการอ่อยเหยื่อร่วมด้วยก็จะให้ผลได้ดีที่สุด

ทูน่าน้ำตื้น (Dogtooth Tuna, White Tuna , Lizard-mouth Tuna)

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตอบอุ่นของมหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่สองสามตัวหรือมากกว่าเล็กน้อยและชอบเคลื่อน ย้ายกลุ่มอยู่เสมอ เป็นปลาทูน่าที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ คือมีแผงฟันที่คมมากจึงได้ชื่อว่า “ด๊อกทูธทูน่า” มีขนาดและความยาวประมาณ 1-1.5 เมตร น้ำหนักสูงสุดอาจจะขึ้นไปถึง 100 กก. หรือมากกว่า

การตกปลาทูน่าน้ำตื้น จะเลือกใช้เหยื่อปลอมที่ใช้ตกปลาทูน่าชนิดอื่นได้แทบทั้งสิ้น หรือจะใช้วิธีการตกด้วยเหยื่อจริงตามธรรมชาติ พร้อมทั้งใช้เหยื่ออ่อยเช่นเดียวกันกับการตกปลาทูน่าหางยาวก็ได้ผลเช่นกัน

ทั้งหมดก็เป็นเรื่องราวของปลาทูน่าทั้ง 12 ชนิด รวมทั้งวิธีการตกและการเลือกใช้เหยื่อโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลังจากนี้ก็จะเป็นบทสรุปในเรื่องราวของการตกปลาทูน่าของนักตกปลาในบ้าน เรา เป็นการแถมท้ายอีกสักนิดซึ่งถึงแม้ว่าปลาทูน่าบางชนิดของนักตกปลาหลาย ๆ คนรวมถึงข้าพเจ้า จะไม่เคยเห็นหน้าค่าตาตัวจริงของมันเลยก็ตาม แต่ข้าพเจ้าคิดว่าจะอย่างไรเสียมันก็เป็นปลาในสกุลเดียวกัน ดังนั้นพฤติกรรมต่าง ๆ จึงน่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันก็ได้ ดังนั้นในตอนท้ายนี้ข้าพเจ้าจะขอเขียนถึงวิธีการตกปลาชนิดหนึ่ง และเป็นชนิดเดียวที่นักตกปลาอยากจะประมือกับมัน…เยลโลว์ฟินทูน่า ไงครับ!

ปลาทูน่าครับเหลืองหรือเยลโลว์ฟินทูน่านับเป็นปลาเกมที่มีพลังในการต่อสู้ กับนักตกปลาได้ดีมาก ปัจจุบันสามารถที่จะพบตัวได้ในทะเลอันดามันแถบหมู่เกาะสิมิลันและแนวไหล่ ทวีป โดยเฉพาะในช่วงที่หมดฤดูมรสุมใหม่ ๆ ปลาทูน่าครีบเหลืองจะอพยพเข้ามาหากินใกล้ ๆ เกาะกลางทะเลมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบริเวณใกล้ ๆ เกาะมีสารอาหารที่ถูกน้ำฝนช่วงฤดูมรสุมพัดพาลงมาสู่ทะเล และสารอาหารเหล่านั้นก็เป็นอาหารของปลาขนาดเล็ก จึงทำให้ปลาทูน่าครีบเหลืองติดตามเข้ามาล่าปลาเล็กเหล่านั้นเป็นอาหารด้วย ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่ไม่สูงมากจนเกินไป เพราะปกติปลาทูน่าครีบเหลืองจะชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 16-27 องศาเซลเซียส เมื่อน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ปลาทูน่าครีบเหลืองจะย้ายไปอยู่ตามบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลและลึกมากขึ้น คือตั้งแต่ระดับ 100-200 เมตรขึ้นไป ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของนักตกปลา เพราะว่าระดับน้ำลึกขนาดนี้ย่อมต้องเป็นพื้นที่อยู่ห่างจากฝั่งเกือบร้อย หรือเป็นร้อยกิโลเมตรแทบทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามการตกปลาทูน่าในบ้านเราก็ยังไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักแต่ในวัน ข้างหน้าก็ไม่แน่ว่านักตกปลาในบ้านเราอาจจะขยายพื้นที่ในการตกปลาออกไป จนถึงแหล่งอาศัยของปลาทูน่าก็ได้ใครจะรู้ และต่อไปนี้ก็จะเป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเลือกอุปกรณ์ เพื่อการตกปลาทูน่าครีบเหลืองที่นักตกปลาปฎิบัติกันอยู่ คือ

1. ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ควรเป็นแบบหรือคันที่มีแอ๊กชั่นค่อนไปทางแข็ง ๆ หากเป็นคันที่ใช้สำหรับตกปลาทูน่าโดยตรงเช่นคันสแตนด์อั้ปก็จะดีมาก เพราะคันเบ็ดประเภทนี้จะให้พลังในการอัดปลาขึ้นจากระดับน้ำที่ลึกมาก ๆ ได้ดี

2. รอกที่เหมาะสมก็ควรเป็นรอกทรอลลิ่ง ทั้งระบบลีเวอร์แดรกและสตาร์แดรกที่สามารถบรรจุสายในขนาดที่เลือกใช้ไม่ต่ำกว่า 400 เมตรขึ้นไป

3. ลูกหมุนให้เลือกใช้ชนิดที่เป็นบอลแบริ่ง สีดำหรือสีน้ำตาลเข็ม

4. สายลีดเดอร์เลือกใช้ขนาดเล็กประมาณ 1-2 เท่าของสายหลัก ยาวตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป

5. ตัวเบ็ดเลือกใช้ชนิดก้านสั้นหรือชนิดทูน่าฮุก (tuna hook) จะดีที่สุด โดยใช้ขนาด 4/0-6/0

วิธีการตกปลาทูน่าครีบเหลือง

การวิ่งเรือลากเหยื่อ

การตกปลาทูน่าด้วยวิธีการทรอลลิ่งนี้เป็นวิธีที่ตกปลาในบ้านเรานิยมมากที่ สุด โดยเหยื่อที่นักตกปลาเลือกใช้มีทั้งเหยื่อ หัวเจ๊ต (jet head) เหยื่อปลาปลอม (plug) เหยื่อจริงชนิดที่มีชิวิตและที่ตายแล้ว (live & dead bait) มาประกอบกับชุดลีดเดอร์ ซึ่งสายลีดเดอร์ที่จะใช้เป็นสายลวด ทั้งหมด

ซึ่งในส่วนของสายลีดเดอร์นี้ข้าพเจ้าเคยใช้สายเอ็นหรือสายโมโนฟิลาเม็นต์แทน สายลวดสลิงก็ได้ผลดีทุกอย่าง แต่มีข้อเสียอยู่ว่าในบ้านเราเวลาทรอลลิ่งมักกระทำในบริเวณใกล้ ๆ เกาะ ชุดปลายสายเลยถูกสถุลอย่างปลาสากหรือปลาเศรษฐกิจอย่างเช่นปลาอินทรีและวา ฮูเข้าชาร์จเหยื่อจนปลายสายขาดเป็นประจำ จึงต้องเลิกใช้ไปโดยปริยาย

ว่ากันว่าปลาทูน่าครีบเหลืองนั้นมีสายตาที่ดีมาก หากบริเวณที่มันอาศัยอยู่มีน้ำที่ใส่มากปลาทูน่าครีบเหลืองจะมองเห็นเหยื่อ ได้ไกลหลายสิบฟุตถึงแม้ว่าเหยื่อจะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วก็ตาม ด้วยเหตุนี้การตกปลาทูน่าด้วยการทรอลลิ่งจึงต้องใช้ความรวดเร็วมาก ประมาณ 110-15 ไมล์/ชม แต่บ้านเราในเรื่องความเร็วของเรือยังไม่พัฒนากันสักเท่าไหร่ เพราะเรือตกปลาส่วนมากมักจะเป็นเรือประมงที่ดัดแปลงแทบทั้งสิ้น และปลาทูน่าที่ได้ตัวในบ้านเราก็มักจะมีขนาดเล็กประมาณ 5-10 กก. ซึ่งปลาขนาดนี้สามารถที่จะใช้เหยื่อปลาปลอมแทนซึ่งก็ได้ผลดี ไม่ว่าทั้งด้านการติดเบ็ดของปลาหรือการลดระดับความเร็วของเรือลงมาเพื่อให้ เหมาะสมกับเหยื่อที่ใช้ ส่วนเรื่องการตั้งน้ำหนักของระบบเบรกขณะลากเหยื่อทั้งสองประเภทควรอยู่ที่ 1/3-1/4 ของแรงดึงสายเบ็ดที่ใช้อยู่ เช่นถ้าใช้สายขนาด 50 ปอนด์ก็ตั้งไว้ที่ 12-17 ปอนด์เป็นต้น แล้วให้เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเมื่อกำลังอัดปลาขึ้นจากระดับน้ำลึก

การจอดเรือตกปลาและการอ่อยเหยื่อ

วิธีการนี้นักตกปลาในบ้านเราเกือบทั้งหมดจะไม่ค่อยให้ความสนใจอาจเป็นเพราะ ว่าเมื่อทำการอ่อยเหยื่อไปสักช่วงหนึ่งแล้ว ไม่เฉพาะแต่ปลาทูน่าเท่านั้นที่ได้รับกลิ่นคาวจากการอ่อยเหยื่อทว่าปลาล่า เหยื่อชนิดอื่น ๆ เช่น ฉลาม อินทรี สาก และวาฮู มักจะตามกลิ่นคาวเข้ามาร่วมวงด้วยเสมอ และก็มักจะเข้ากินเหยื่อก่อนปลาทูน่าทำให้ชุดปลายสายขาดเสียทุกครั้ง นักตกปลาในบ้านเราจึงหันไปใช้วิธีแรก คือการทรอลลิ่งด้วยเหยื่อปลอมที่สะดวกและง่ายกว่า ข้าพเจ้าจึงขออนุญาตไม่เขียนถึงรายละเอียดของวิธีนี้ และก่อนจะจบเรื่องราวของการตกปลาทูน่า ข้าพเจ้ามีข้อแนะนำเพิ่มเติมอีกนิด ไว้เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัตืและควรจำ ดังนี้

1. เวลาเช้าตรู่นับเป็นเวลาที่ดีที่สุดของการตกปลาทูน่า

เมื่อนักตกปลาทำการทรอลลิ่งแล้วเจอฝูงปลาทูน่า ควรทรอลลิ่งดักหน้าฝูงปลาเสมอ

3. เมื่อปลาติดเบ็ดให้นักตกปลาเพิ่มเบรกขึ้นอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะเมื่อปลาเริ่มขึ้นใกล้ผิวน้ำ และควรอัดปลาตลอดเวลาเป็นช่วงสั้น ๆ ร่วมกันการดึงหรือเบนทิศทางการวิ่งของปลาไปด้วย

4. ขณะที่นักตกปลากำลังสู้กับปลาทูน่า ต้องพยายามตั้งคันเบ็ดให้เป็นมุมประมาณ 60 องศาหรือน้อยกว่า จะสะดวกในการอัดปลาให้ขึ้นมาจากระดับน้ำที่ลึกได้ดี

5. เมื่อปลาเข้ามาใกล้เรือในระยะตะขอ ให้นักตกปลาลดแรงเบรกลงแล้วใช้นิ้วกดสปูลเก็บสายเพิ่มน้ำหนักแทน และการเกี่ยวปลาต้องเกี่ยวทีเดียวให้ได้ตัว เพราะไม่อย่างนั้นท่านจะต้องเสียเวลาในการอัดปลาไปอีกนานกับการวิ่งอย่าง ตกใจของปลา บางครั้งก็อาจจะทำให้สายเบ็ดขาดได้ ซึ่งข้าพเจ้าเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว !

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวข้างต้นคงจะมีประโยชน์กับนักตกปลาบ้างตามสมควร โดยเฉพาะกับมือใหม่ในเกมทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น